แนวคิดที่มา

การประยุกต์ใช้ประโยชน์ของสิ่งประดิษฐ์
  • ชุดผลิตภัณฑ์ข้าวต้มพร้อมบริโภคเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบผลิตภัณฑ์พร้อมบริโภคบรรจุถุงทนร้อน (retort pouch) ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนให้เกิดสภาวะปลอดเชื้อในบรรจุภัณฑ์ปิดสนิท แบบ Commercial sterilization ทําให้สามารถเก็บรักษาได้ที่อุณหภูมิห้องเป็นระยะเวลานานโดยไม่เกิดการเสื่อม เสีย ผู้บริโภคสามารถรับประทานได้ทันทีโดยไม่ต้องอุ่นร้อน จึงช่วยลดระยะเวลาการเตรียมอาหารและช่วยเพิ่ม ความสะดวกแก่ผู้บริโภคและผู้ดูแลในยุคปัจจุบันที่มีเวลาจํากัด หรือสามารถนําผลิตภัณฑ์ที่ยังอยู่ในถุงบรรจุปิด สนิท ไปอุ่นร้อนด้วยการนําไปต้มในน้ําเดือด หรือฉีกและเทผลิตภัณฑ์ใส่ภาชนะ แล้วนําไปอุ่นร้อนด้วย ไมโครเวฟ ผลิตภัณฑ์นี้จึงมีความเหมาะสมที่จะนําไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภค กลุ่มเป้าหมายในยุคปัจจุบัน

จุดเด่นของสิ่งประดิษฐ์
  • ใช้วัตถุดิบจากข้าวกล้องมีสีและธัญพืชที่มีประโยชน์ในเชิงโภชนาการ มีหลากหลายสูตรให้เลือกรับประทาน เพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคเหมาะกับผู้สูงอายุและเด็กเล็ก
  • เป็นผลิตภัณฑ์พร้อมบริโภคที่สามารถเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องได้มีอายุการเก็บรักษามากกว่า 1 ปี
  • เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการจัดเตรียมอาหารเหมาะกับผู้สูงอายุที่ต้องดูแลตัวเอง หรือผู้ดูแลเด็ก และผู้สูงอายุที่มีเวลาจํากัด
  • ใช้บรรจุภัณฑ์อ่อนตัว (flexible retort pouch) จึงมีน้ำหนักเบาพกพาสะดวก ลดน้ําหนักในการขนส่ง

กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของผลิตภัณฑ์
  • ชุดผลิตภัณฑ์ข้าวต้มพร้อมบริโภคมีความเหมาะสมสําหรับผู้บริโภคในกลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยพักฟื้น และผู้ที่มีปัญหาด้านการเคี้ยว

กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของผลิตภัณฑ์
  • ชุดผลิตภัณฑ์ข้าวต้มพร้อมบริโภคมีความเหมาะสมสําหรับผู้บริโภคในกลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยพักฟื้น และผู้ที่มีปัญหาด้านการเคี้ยว

กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย
  • สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีสูตรและกระบวนการผลิตแก่ผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูป อาหารพร้อมบริโภคเพื่อเพิ่มมูลค่า โดยผู้ประกอบการต้องมีโรงงานผลิตอาหารในภาชนะปิดสนิทที่ผ่านการ แปรรูปด้วยความร้อน
  • กลุ่มผู้ประกอบการ SME ที่มีความสามารถในการตลาดผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพที่สามารถ จัดหาโรงงาน OEM ได้

ความร่วมมือที่เสาะหา
  • อนุญาตใช้สิทธิ และถ่ายทอดเทคโนโลยี

เงื่อนไขการอนุญาตใช้สิทธิ
  • ติดต่อสอบถามเงื่อนไขการอนุญาตใช้สิทธิ

ผศ.ดร.เสาวคนธ์ วัฒนจันทร์
คณะอุตสาหกรรมเกษตร
นางสาววิไลวรรณ สุวัตถิตานันท์
สถาบันวิจัยและนวัตกรรมอาหาร
นางสาวสิรินทิพย์ แซ่หลิน
สถาบันวิจัยและนวัตกรรมอาหาร



แชร์เรื่องราว
ติดต่อสอบถามเกี่ยวกับโครงการ