Home
PSU INNO Bazaar
Market Place
PSU Research Expo 2021
PSU Service
News
About us
Contact us
<
PSU iNNO Bazaar
แป้งจากกล้วยน้ำว้าดิบ (MusaWa bar)
แนวคิดที่มา
กล้วยเป็นไม้ผลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ทั้งการบริโภคภายในประเทศและส่งออกสร้าง สร้างรายได้ในแต่ละปีไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท โดยกล้วยน้ำว้าสามารถผลิตออกสู่ตลาดได้ตลอดทั้งปี พื้นที่เพาะปลูกกล้วยน้ำว้าที่รายงานในปี 2551/52 พบว่าทั่วประเทศมีประมาณ 686,937 ไร่ ให้ผลผลิต 1,115,101 ตัน ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 5.4 บาท/กิโลกรัม (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 2552) โดยกล้วยน้ำว้าสุกมีกรดอะมิโน วิตามินเอ บี และซี แคลเซียม เหล็ก โพแทสเซียม ทองแดง สารแทนนิน ในขณะที่กล้วยน้ำว้าดิบมีคุณค่าทางโภชนาการด้อยกว่า การใช้กล้วยน้ำว้าดิบในประเทศไทยที่แม้คุณค่าทางอาหารจะด้อยกว่ากล้วยน้ำว้าสุก แต่นิยมใช้ประโยชน์ในการช่วยรักษากระเพาะอาหารเป็นแผลและท้องร่วง ซึ่งทำได้โดยการนำผงกล้วยน้ำว้าดิบที่ผ่านการตากแห้ง มาชงกับน้ำร้อนและดื่มก่อนอาหาร ซึ่งสอดคล้องกับรายงานการรักษาอาการแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcer) ของกล้วยจากต่างประเทศ เช่น เปลือกกล้วยดิบ (Musa sapientum) ในประเทศไนจีเรียมีความสามารถในการรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้เห็นผลดี ทั้งในกลุ่มแผลในกระเพาะที่เพิ่งเกิดขึ้นและแผลในกระเพาะอาหารที่เป็นมาอย่างเรื้อรัง เป็นต้น
การประยุกต์ใช้ประโยชน์ของสิ่งประดิษฐ์
สามารถส่วนประกอบ/ส่วนผสมในอาหารเพื่อสุขภาพ หรือ อาหารเช้าชนิดชงดื่ม
จุดเด่นของสิ่งประดิษฐ์
อาหารขบเคี้ยวชนิดแท่งที่เหมาะสำหรับคนรักสุขภาพ
ใช้แป้งกล้วยน้ำว้าดิบ 100% ที่ปราศจากกลูเตน
ไม่มีการเติมองค์ประกอบประเภทไขมันในสูตรการผลิต
มีปริมาณแคลอรีน้อยเพียง 60 กิโลแคลอรีต่อการบริโภคผลิตภัณฑ์ 1 แท่ง
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของผลิตภัณฑ์
โรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร ปศุสัตว์ การประมงและการเพาะเลี้ยง แหล่งชุมชนและบ้านเรือน
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของผลิตภัณฑ์
โรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร ปศุสัตว์ การประมงและการเพาะเลี้ยง แหล่งชุมชนและบ้านเรือน
กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ผลิตอาหาร
อุตสากรรมผลิตวัตถุดิบทำเบเกอรี่ ประเภท แป้งทำขนม
ความร่วมมือที่เสาะหา
อนุญาตใช้สิทธิ และถ่ายทอดเทคโนโลยี
เงื่อนไขการอนุญาตใช้สิทธิ
ติดต่อสอบถามเงื่อนไขการอนุญาตใช้สิทธิ
วิจัยโดย
ผศ.ดร.ธรรมรัตน์ แก้วมณี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผศ.ดร.ศศิธร ชูศรี
คณะการแพทย์แผนไทย
ดร.อัจฉราภรณ์ อิสสุริยะ
คณะวิทยาศาสตร์
ผศ.ดร.สุรศักดิ์ ลิ้มสุวรรณ
คณะการแพทย์แผนไทย
ระดับของการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์
ผลงานวิจัยที่ผ่านการปรับปรุงและพัฒนาจนได้ผลิตภัณฑ์ในระดับโรงงานต้นแบบ (Pilot Scale)
ทุนพัฒนาโครงการ
ติดต่อสอบถามเพื่อรับทราบข้อมูล
ติดต่อสอบถาม
แชร์เรื่องราว
×
ติดต่อสอบถามเกี่ยวกับโครงการ
ชื่อผู้ติดต่อ
*
อีเมล์
*
เบอร์โทรศัพท์
*
ข้อความ
*
ย้อนกลับ