Home
PSU INNO Bazaar
Market Place
PSU Research Expo 2021
PSU Service
News
About us
Contact us
<
PSU iNNO Bazaar
กรรมวิธีการเตรียมสารสกัดไพลที่มีสารกลุ่มฟีนิลบิวทานอยด์ และสูตรแผ่นแปะแก้ปวดสารสกัดจากไพลที่ใช้สารเมือกจากเมล็ดแมงลักเป็นสารก่อฟิล์ม
แนวคิดที่มา
ไพลเป็นหนึ่งในสมุนไพรไทยที่ได้รับความนิยมนำมาใช้ในการรักษาโรคในประเทศไทยมีตำรับ เตรียมจากน้ำมันไพลในรูปแบบยาครีมและยาขี้ผึ้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในรายการยาในบัญชียาหลักแห่ ปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) โดยมีข้อบ่งใช้ในการบรรเทาอาการปวดเคล็ดขัดยอกกล้ามเนื้อมีรายงานว่าสารที่มีฤทธิ์ ในการรักษาอาการปวดเคล็ดขัดยอกในไพลเป็นสารกลุ่ม phenylbutanoids ได้แก่DMPBD [(E)-1-(3,4-dimethoxy-phenyl)butadiene], compound D [(E)-4-(3,4-dimethoxyphenyl)but-3-en-1-ol] และ compound D acetate เป็นต้น ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งอาการปวดอักเสบกล้ามเนื้อ โดยมีกลไกการออกฤทธิ์ เหมือนกับยาแผนปัจจุบันในกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์NSAIDs) (ยากและในปัจจุบันุ่ม นอกจากยาทาแก้ปวดในรูปแบบยาครีมและยาขี้ผึ้งแล้ว ยาเตรียมในรูปแผ่นแปะแก้ปวดก็เป็นยาอีกรู หนึ่ง ที่ได้รับความนิยมในการใช้รักษาอาการปวดอักเสบกล้ามเนื้อ
การประยุกต์ใช้ประโยชน์ของสิ่งประดิษฐ์
สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับไพลและเมล็ดแมงลักโดยการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ใช้รักษาหรือบรรเทา อาการปวดรูปแบบใหม่จากสารสกัดไพลและสารสกัดจากเมล็ดแมงลักที่เตรียมด้วยวิธีการสกัดที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม(green extraction) และเป็นการสร้างนวัตกรรมของยาแก้ปวดจากสมุนไพรในรูปแผ่นแปะที่มี รูปลักษณ์ดีและใช้ง่าย
จุดเด่นของสิ่งประดิษฐ์
กรรมวิธีการเตรียมสารสกัดจากไพลที่สามารถลดการใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ที่อาจเป็นอันตรายต่อ มนุษย์และสิ่งแวดล้อม โดยการใช้ตัวทำละลายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นตัวทำละลายที่ ให้ใช้ได้ในอุตสาหกรรมยาสมุนไพรได้สามารถลดขั้นตอนการเตรียมสารสกัดจากไพล โดยที่ไม่ต้องระเหยตัวทำละลายออกจากสารสกัดก่อนนำไปเตรียมเป็นยา และสามารถควบคุมปริมาณสารออกฤทธิ์ในกลุ่มฟีนิบิว ทานอยด์ในสารสกัดที่เตรียมได้ ทำให้สามารถกำหนดปริมาณสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ในตำรับยาได้
กรรมวิธีการเตรียมแผ่นแปะหากใช้สารก่อแผ่นฟิล์มจากธรรมชาติ เช่น (mucilageสารเมือก) จากเมล็ดแมงลักเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเตรียมยาจากสารสกัดไพลในรูปแผ่นแปะ โดยการใช้สารเมือกจากเมล็ดแมงลักเป็นสารก่อแผ่นฟิล์มในแผ่นแปะจะช่วยการลดต้นทุนการผลิตเนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่มีในประเทศ และผลิตได้ง่าย นอกจากนี้ การใช้สารเมือกจากเมล็ดแมงลักยังเป็นมิตรต่อผิวหนัง ไม่ก่อให้เกิดอาก อาการระคายเคืองผิวหนังด้วย
นวัตกรรมนี้ได้รับรางวัลเหรียญทองจากงานประกวดนวัตกรรม 45th International Exhibition of Inventions of Geneva ณ กรุงเจนีวา ประเทศสมาพันธรัฐสวิส
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของผลิตภัณฑ์
ประชาชนทั่วไปที่ชื่นชอบในผลิตภัณฑ์สมุนไพรหรือชื่นชอบในผลิตภัณฑ์ที่ผลิตด้วยกรรมวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของผลิตภัณฑ์
ประชาชนทั่วไปที่ชื่นชอบในผลิตภัณฑ์สมุนไพรหรือชื่นชอบในผลิตภัณฑ์ที่ผลิตด้วยกรรมวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย
โรงงานผลิตยา ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ จากสารสกัดสมุนไพร
โรงงานผลิตสารสกัดสมุนไพร
ความร่วมมือที่เสาะหา
บริษัทรับถ่ายทอดเทคโนโลยี
เงื่อนไขการอนุญาตใช้สิทธิ
ติดต่อสอบถามเงื่อนไขการอนุญาตใช้สิทธิ
วิจัยโดย
รศ.ดร.ภก.ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์
คณะเภสัชศาสตร์
นางสาวนิติมา บินดุเหล็ม
คณะเภสัชศาสตร์
ดร.วัชรวดี ลิ่มสกุล
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
นางสาวอาพาภรณ์ แก้วชูทอง
บริษัท บางกอกแล็ป แอนด์ คอสเมติค จำกัด
ระดับของการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์
ผลงานวิจัยที่สำเร็จในระดับปฏิบัติการแต่มีผลิตภัณฑ์ต้นแบบแล้ว
ทุนพัฒนาโครงการ
ติดต่อสอบถามเพื่อรับทราบข้อมูล
ติดต่อสอบถาม
แชร์เรื่องราว
×
ติดต่อสอบถามเกี่ยวกับโครงการ
ชื่อผู้ติดต่อ
*
อีเมล์
*
เบอร์โทรศัพท์
*
ข้อความ
*
ย้อนกลับ