Home
PSU INNO Bazaar
Market Place
PSU Research Expo 2021
PSU Service
News
About us
Contact us
<
PSU iNNO Bazaar
ชุดตรวจฟอร์มาลินในอาหาร
แนวคิดที่มา
ฟอร์มาลิน (Formalin) หมายถึง สารฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) ที่ละลายในน้ำ ซึ่งมีความ เข้มข้นระหว่าง 37 ถึง 40% โดยน้ำหนัก มีลักษณะเป็นของเหลวใส มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว นิยมใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมผลิตเคมีภัณฑ์ พลาสติก สิ่งทอ เพื่อรักษาผ้าไม่ให้ยับหรือย่น ใช้ในทางการแพทย์เพื่อฆ่าเชื้อโรครา ใช้เป็นน้ำยาดองศพ และยังใช้ในการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยว เช่น ป้องกันการ ขึ้นราของข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต หรือป้องกันแมลงในธัญพืช เป็นต้น อย่างไรก็ตาม มีการพบการนำฟอร์มาลินมาใช้ในทางที่ผิด กล่าวคือ นำมาใช้เพื่อรักษาความสดของอาหารทะเล เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย
เมื่อมีการใช้ฟอร์มาลินในการรักษาความสดของอาหารในปริมาณมาก ทำให้ฟอร์มาลินสลายตัวไม่ ทันจึงเกิดการตกค้างและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ เช่น ทำให้เกิดอาการอาเจียน ท้องร่วง ปวดท้อง เป็นพิษ ต่ออวัยวะภายใน และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ องค์กรวิจัยมะเร็งนานาชาติ (International Agency for Research on Cancer: IARC) จัดสารฟอร์มาลดีไฮด์อยู่ในกลุ่มที่ 1 ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ (Carcinogenic to humans) (Benjakul, 2003) สำหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข จัดสารฟอร์มาลิน เป็นวัตถุห้ามใช้ในอาหารตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 151 (พ.ศ. 2536) แห่งพระราชบัญญัติ อาหาร พ.ศ. 2522 ผู้ใช้สารนี กับอาหารหรือทำให้อาหารนั้นเกิดพิษภัยกับผู้บริโภค จัดเป็นการผลิตจำหน่าย อาหารไม่บริสุทธิ์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในขณะที่สำนักงานอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดระดับความเข้มข้นสูงสุดของฟอร์มาลินในอาหารที่ 2,500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่องค์การอนามัยโลกกำหนดความเข้มข้นสูงสุดของการรับไอของฟอร์มาลดีไฮด์ที่ 80 ส่วนในพันล้านส่วน (ppb) ซึ่งต่ำกว่าความเข้มข้นต่ำสุดที่มนุษย์ได้กลิ่นที่ 410 ส่วนในพันล้านส่วน (IARC, 2004: Yeh et al., 2013) ดังนั้นการมีชุดตรวจหรือวิธีตรวจวัดสารฟอร์มาลินหรือสารฟอร์มาลดีไฮด์ในอาหาร ที่มีประสิทธิภาพจึงมีความจำเป็นต่อผู้บริโภคและผู้รับผิดชอบด้านความปลอดภัยของอาหารอย่างยิ่ง
การประยุกต์ใช้ประโยชน์ของสิ่งประดิษฐ์
ใช้ทดสอบการปนเปื้อนฟอร์มาลินในอาหารปลาเช่นกุ้ง ผัก ผลไม้
จุดเด่นของสิ่งประดิษฐ์
สามารถทดสอบหาฟอร์มาลดีไฮด์/ฟอร์มาลินในอาหารได้
สามารถบอกปริมาณของฟอร์มาลดีไฮด์/ฟอร์มาลินได้โดยการเปรียบเทียบความเข้มของผลิตภัณฑ์สีกับแถบสีมาตรฐานหรือการวิเคราะห์ภาพดิจิทัล
ใช้ง่าย โดยการเติมน้ำแช่อาหารลงในชุดทดสอบและเขย่า
รวดเร็ว โดยทราบผลทันที และจะให้ผลการทดสอบชัดเจนภายหลังการทดสอบเพียง 3 นาที
มีขนาดเล็ก พกพาสะดวก
ปลอดภัย เพราะไม่ต้องสัมผัสสารเคมี ไม่มีกระบวนการหยดน้ำยาเคมีหรือผสมน้ำยาเคมี ระหว่างการทดสอบ
มีอายุการใช้งานนาน (1 ปี) เมื่อเก็บในตู้เย็น
มีราคาประหยัดกว่าชุดทดสอบที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของผลิตภัณฑ์
อุตสาหกรรมผลิตชุดทดสอบในอุตสาหกรรมอาหาร
อุตสาหกรรมอาหาร
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของผลิตภัณฑ์
อุตสาหกรรมผลิตชุดทดสอบในอุตสาหกรรมอาหาร
อุตสาหกรรมอาหาร
กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย
อุตสาหกรรมผลิตชุดทดสอบในอุตสาหกรรมอาหาร
อุตสาหกรรมอาหาร
ความร่วมมือที่เสาะหา
อนุญาตใช้สิทธิ และถ่ายทอดเทคโนโลยี
เงื่อนไขการอนุญาตใช้สิทธิ
ติดต่อสอบถามเงื่อนไขการอนุญาตใช้สิทธิ
วิจัยโดย
รองศาสตราจารย์ ดร.อารีย์ ชูดำ
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิทย์ วงศ์นิราม
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ดร.วัชรวดี ลิ่มสกุล
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ดร.วิลาสินี ศรีพรหม
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ระดับของการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์
ผลงานวิจัยที่สำเร็จในระดับปฏิบัติการแต่มีผลิตภัณฑ์ต้นแบบแล้ว
ทุนพัฒนาโครงการ
ติดต่อสอบถามเพื่อรับทราบข้อมูล
ติดต่อสอบถาม
แชร์เรื่องราว
×
ติดต่อสอบถามเกี่ยวกับโครงการ
ชื่อผู้ติดต่อ
*
อีเมล์
*
เบอร์โทรศัพท์
*
ข้อความ
*
ย้อนกลับ