Home
PSU INNO Bazaar
Market Place
PSU Research Expo 2021
PSU Service
News
About us
Contact us
<
PSU iNNO Bazaar
ชุดทดสอบไนไตรท์ในผลิตภัณฑ์เนื้อแปรรูป
แนวคิดที่มา
ไนไตรท์ (Nitrite: NO2-) เป็นไอออนสารอาหารที่พบได้ตามธรรมชาติที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศ มักเกิดจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ ในสิ่งแวดล้อมมักพบไนไตรท์ในปริมาณต่ำ และเนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์อาจทำให้ในไตรท์สูงกว่าปกติ เช่น การใช้ปุ๋ยสังเคราะห์ในเกษตรกรรม ของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยเคมี (Indyk and Woollard, 2011) เป็นต้น ไนไตรท์ในรูปเกลือโซเดียมหรือโพแทสเซียม เช่น โซเดียมไนไตรท์ ยังเป็นสารเคมีที่ถูกนํามาใช้ในกระบวนการผลิต แปรรูปอาหารประเภทเนื้อสัตว์ร่วมกับสารไนเตรท เพื่อให้เนื้อสัตว์มีสีแดง สด คงสภาพอยู่ได้นานและน่ารับประทาน อีกทั้งยังช่วยป้องกันและยับยั้งการเน่าเสียและมีสมบัติในการป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อโรคในกลุ่มคลอสตริเดียมโบทูลินัม (Clostridium botulinum) ที่สามารถเจริญได้ดีในภาชนะที่ปิดสนิทหรือไม่มีอากาศ เช่น อาหาร กระป๋องแหนม หมูยอที่ห่อด้วยพลาสติกปิดแน่น เป็นต้น เชื้อดังกล่าวสามารถสร้างสารพิษโบทูลินซึ่งมีฤทธิ์ค่อนข้างรุนแรงและทําให้เสียชีวิตได้ง่าย กระทรวงสาธารณสุขจึงกำหนดระดับปริมาณสารทั้งสองชนิดในอาหารที่อนุญาตให้ใช้ได้ เช่น ไส้กรอก แฮม เนื้อเค็ม แหนม หมูยอ อนุญาตให้มีปริมาณของสารทั้งสองในรูปของโซเดียมไนเตรทได้ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โซเดียมไนไตรท์ได้ไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และโซเดียมไนเตรทและไนไตรท์รวมไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม อย่างไรก็ตามปัจจุบันพบว่า มีการเติมสารดังกล่าวเกินกว่าระดับปริมาณที่อนุญาต ทำให้ผู้บริโภคอาจได้รับอันตรายจากสารทั้งสองชนิดได้
ด้วยเหตุนี้การตรวจสอบระดับของไนไตรท์ที่ปนเปื้อนในน้ำหรืออาหารจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เช่น แหล่งน้ำผิวดินต่างๆ แม่น้ำ ทะเลสาบและทะเล เป็นต้น (Chislock et al., 2013; Saez et al., 2016) เนื่องจากระดับปริมาณไนไตรท์ในน้ำที่ปลอดภัยมีค่าค่อนข้างต่ำ (trace concentration) ทำให้การตรวจวัดไนไตรท์ต้องใช้เครื่องมือวิเคราะห์ขั้นสูงที่มีราคาแพงในการตรวจวัด เช่น เครื่องวิเคราะห์หาไอออนโดยอาศัยเทคนิคโครมาโทรกราฟฟี (Ion chromatography, IC) (Hall and Mccord 1993) และ เครื่องแคปิลลารีอิเล็กโทรโฟรีซิส (capillary electrophoresis, CE) (Sarazin et al., 2010) ซึ่งต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะในการดำเนินการ
ปัจจุบันจึงมีผู้ประยุกต์ใช้ปฏิกิริยาการเกิดสี (colorimetric reaction) ระหว่างไนไตรท์กับน้ำยาเคมีมาผลิตเป็นชุดทดสอบเบื้องต้น (test kit) ออกวางจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ เพื่อทดแทนการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ขั้นสูงและใช้ในการตรวจวัดภาคสนาม เช่น ชุดทดสอบเบื้องต้นของบริษัทบริษัท ไฮเออร์ เอ็นท์เตอร์ไพรส์ จํากัด (Higher Enterprises Co., Ltd.) และบริษัทดีเท็คเทค (Dtec tech) เป็นต้น ชุดทดสอบเหล่านี้มีลักษณะเป็นน้ำยาเคมี ในรูปของเหลว จึงพกพาไม่สะดวกและอาจหกเลอะเทอะหรือเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ได้
ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้คิดค้นกรรมวิธีและประดิษฐ์ผลงานชิ้นนี้ขึ้นมาเพื่อให้สะดวกแก่การใช้งานจริงมากขึ้น
การประยุกต์ใช้ประโยชน์ของสิ่งประดิษฐ์
สามารถนำไปทดสอบหาสารไนไตรท์ในผลิตภัณฑ์เนื้อแปรรูป เช่น ไส้กรอก แหนม หมูยอ เป็นต้น และสามรถนำไปประยุกต์ใช้ทดสอบหาสารไนไตรท์ในน้ำได้
จุดเด่นของสิ่งประดิษฐ์
ใช้ง่าย พกพาสะดวก
ราคาประหยัดกว่าชุดทดสอบที่มีอยู่ในท้องตลาด
ปลอดภัยจากอันตรายของสารเคมี
อายุการใช้งานยาวนาน 1 ปี เมื่อเก็บในตู้เย็น
ทราบผลทันที
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของผลิตภัณฑ์
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาธารณสุขจังหวัด โรงเรียน และตัวแทนผู้จัดจำหน่ายชุดทดสอบทางวิทยาศาสตร์
ผู้ประกอบการโรงแรม ร้านอาหาร ร้านอาหารที่ต้องการชุดทดสอบเพื่อตรวจสอบคุณภาพของอาหาร
ผู้ประกอบการห้องปฏิบัติการตรวจสอบต่างๆ
บุคคลทั่วไปที่ต้องทดสอบอาหารเพื่อความมั่นใจในการทาน
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของผลิตภัณฑ์
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สาธารณสุขจังหวัด โรงเรียน และตัวแทนผู้จัดจำหน่ายชุดทดสอบทางวิทยาศาสตร์
ผู้ประกอบการโรงแรม ร้านอาหาร ร้านอาหารที่ต้องการชุดทดสอบเพื่อตรวจสอบคุณภาพของอาหาร
ผู้ประกอบการห้องปฏิบัติการตรวจสอบต่างๆ
บุคคลทั่วไปที่ต้องทดสอบอาหารเพื่อความมั่นใจในการทาน
กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย
ผู้ผลิตชุดทดสอบ
อุตสาหกรรมอาหาร
ความร่วมมือที่เสาะหา
อนุญาตใช้สิทธิ และถ่ายทอดเทคโนโลยี
เงื่อนไขการอนุญาตใช้สิทธิ
ติดต่อสอบถามเงื่อนไขการอนุญาตใช้สิทธิ
วิจัยโดย
รศ.ดร.อารีย์ ชูดำ
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ผศ.ดร.วรวิทย์ วงศ์นิรามัยกุล
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ดร.วัชรวดี ลิ่มสกุล
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ดร.วิลาสินี ศรีพรหม
คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
ระดับของการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์
ผลงานวิจัยที่มีผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ผ่านการทดสอบการใช้งานในระดับภาคสนาม หรือทางคลินิกแล้ว
ทุนพัฒนาโครงการ
ติดต่อสอบถามเพื่อรับทราบข้อมูล
ติดต่อสอบถาม
แชร์เรื่องราว
×
ติดต่อสอบถามเกี่ยวกับโครงการ
ชื่อผู้ติดต่อ
*
อีเมล์
*
เบอร์โทรศัพท์
*
ข้อความ
*
ย้อนกลับ