Home
PSU INNO Bazaar
Market Place
PSU Research Expo 2021
PSU Service
News
About us
Contact us
<
PSU iNNO Bazaar
หนังเทียมจากยางพารา
แนวคิดที่มา
ปัจจุบันอุตสาหกรรมหนังเทียมเป็นหนึ่งอุตสาหกรรมที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทยหลายหมื่นล้านบาทต่อปี แต่ผู้ประกอบการคนไทยที่ผลิตผลิตภัณฑ์จากแผ่นหนังเทียมต้องใช้วัตถุดิบแผ่นหนังเทียมที่ด้อยคุณภาพ และขาดการพัฒนา จึงต้องมีการนำเข้าแผ่นหนังเทียมจากต่างประเทศซึ่งการนำเข้าแผ่นหนังเทียมมีมูลค่ากว่า 30,900 ล้านบาท ไม่รวมค่าภาษีการนำเข้าที่สูงถึง 20% ค่าขนส่ง และค่าจัดเก็บสินค้าคงคลัง ส่งผลให้อุตสาหกรรมนำเข้าแผ่นหนังเทียมต้องรับภาระเหล่านี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
โดยหนังเทียมนิยมทำมาจากพลาสติกชนิดพอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl chloride: PVC) และพอลิยูริเทน (Polyurethane: PU) โดยหนังเทียม PVC จัดเป็นหนังเทียมที่สามารถผลิตขึ้นภายในประเทศมีราคาถูก คงทนต่อรอยขูดขีด ไม่เกิดเป็นรอยง่าย แต่พื้นผิวและการสัมผัสจะแข็งกระด้าง และกรอบแตกง่ายกว่าหนังเทียมพอลิยูริเทน (PU)ที่มีผิวและการสัมผัสเหมือนหนังแท้มากที่สุด แต่ความทนทานต่อรอยขีดข่วนไม่เท่าหนังเทียม PVC เพราะผิวมีความนุ่มกว่าจึงถลอกง่าย ไม่ค่อยคืนตัว และต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
จึงมีการพัฒนา “แผ่นหนังเทียมจากยางพารา” ที่สามารถรวบรวมข้อดี และแก้ไขข้อเสียดังกล่าวเพื่อใช้ทดแทนหนังเทียม PVC และลดการนำเข้าหนังเทียม PU โดยการพัฒนาแผ่นหนังเทียมจากยางพาราจะมีข้อเด่นดังนี้ ผิวสัมผัสนุ่ม ยืดหยุ่น ทนทานต่อแรงดึง ทนทานต่อรอยขีดข่วน ไม่เป็นรอยง่าย ทนทานต่อการสึกหรอหรือการเสียดสี ราคาถูก และเหมาะสมที่จะนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์จากหนังเทียม
การประยุกต์ใช้ประโยชน์ของสิ่งประดิษฐ์
หนังเทียมจากยางพาราเหมาะสมที่จะนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์จากหนังเทียม เช่น วัสดุหุ้มเบาะรถ กระเป๋า เฟอร์นิเจอร์ รวมถึงการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมหนังเทียมอื่น ๆ ได้
จุดเด่นของสิ่งประดิษฐ์
ผิวสัมผัสนุ่ม ยืดหยุ่น
ทนทานต่อแรงดึง
คุณสมบัติการซับแรงดีเยี่ยม
ทนทานต่อรอยขีดข่วน ไม่เป็นรอยง่าย
ทนทานต่อการสึกหรอหรือการเสียดสี
ราคาถูก
เป็นแผ่นหนังเทียมรักษ์สิ่งแวดล้อม
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของผลิตภัณฑ์
โรงงานเครื่องใช้สำหรับเดินทาง
โรงงานรองเท้าและชิ้นส่วน
โรงงานเฟอร์นิเจอร์
โรงงานผลิตหนังเทียม
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของผลิตภัณฑ์
โรงงานเครื่องใช้สำหรับเดินทาง
โรงงานรองเท้าและชิ้นส่วน
โรงงานเฟอร์นิเจอร์
โรงงานผลิตหนังเทียม
กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย
ผู้ผลิตเครื่องใช้สำหรับเดินทาง
ผู้ผลิตรองเท้าและชิ้นส่วน
ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์
ผู้ผลิตผลิตหนังเทียม
ความร่วมมือที่เสาะหา
อนุญาตใช้สิทธิ และถ่ายทอดเทคโนโลยี
เงื่อนไขการอนุญาตใช้สิทธิ
ติดต่อสอบถามเงื่อนไขการอนุญาตใช้สิทธิ
วิจัยโดย
ผศ.ดร.เอกวิภู กาลกรณ์สุรปราณี และคณะ
คณะวิทยาศาสตร์
ระดับของการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์
ผลงานวิจัยที่สำเร็จในระดับปฏิบัติการแต่มีผลิตภัณฑ์ต้นแบบแล้ว
ทุนพัฒนาโครงการ
ติดต่อสอบถามเพื่อรับทราบข้อมูล
ติดต่อสอบถาม
แชร์เรื่องราว
×
ติดต่อสอบถามเกี่ยวกับโครงการ
ชื่อผู้ติดต่อ
*
อีเมล์
*
เบอร์โทรศัพท์
*
ข้อความ
*
ย้อนกลับ