Home
PSU INNO Bazaar
Market Place
PSU Research Expo 2021
PSU Service
News
About us
Contact us
<
PSU iNNO Bazaar
เครื่องไฮโดรโซนิกสำหรับผลิตอิมัลชัน
แนวคิดที่มา
สารอิมัลชัน (emulsion) คือ ระบบคอลลอยด์ (colloid) ที่เกิดจากการผสมกันระหว่างของเหลวที่ไม่สามารถเข้ากันได้อย่างน้อย 2 ชนิด ของเหลวชนิดหนึ่งชอบน้ำ เรียกว่า เฟสน้ำ (water phase) และของเหลวอีกชนิดหนึ่งชอบน้ำมัน เรียกว่า เฟสน้ำมัน (oil phase) โดยของเหลวเฟสหนึ่งจะมีลักษณะเป็นหยดเล็ก (droplet) เข้าไปกระจายตัวแทรกอยู่ในของเหลวอีกเฟสหนึ่ง อย่างไรก็ตามการผสมของเหลวทั้งสองชนิดที่ไม่สามารถเข้ากันได้จะพบปัญหาความคงตัวหรือระยะเวลาในการแยกชั้นของสารอิมัลชันภายในระยะเวลาที่รวดเร็ว
โดยทั่วไปสารอิมัลชันจะผลิตด้วยเครื่องโฮโมจีไนเซอร์ (homogenizer) และเครื่องคลื่นเสียงอัลตราโซนิก (ultrasonic cavitation) สามารถผลิตสารอิมัลชันที่มีขนาดของหยดเล็กได้ในระดับนาโนเมตรทำให้สารอิมัลชันมีระยะเวลาความคงตัวที่นาน แต่ต้นทุนและค่าซ่อมบำรุงของเครื่องมีราคาสูง
การประยุกต์ใช้ประโยชน์ของสิ่งประดิษฐ์
นำไปประยุกต์ใช้งานจริงทั้งชุมชนและอุตสาหกรรม เช่น ไบโอดีเซล เครื่องสำอาง และอาหาร
ตัวอย่างในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง จะสามารถเพิ่ม1.ประสิทธิภาพการดูดซึมเข้าสู่ผิว 2.เพิ่มความคงตัวของสารสำคัญ 3.ผลิตภัณฑ์กันแดดจะเพิ่มประสิทธิภาพการกันแดดไม่ทิ้งคราบขาว 4.ผลิตภัณฑ์เครื่องหอมจะเพิ่มการคงตัวควบคุมปลดปล่อยกลิ่นของน้ำหอม
จุดเด่นของสิ่งประดิษฐ์
เครื่องไฮโดรโซนิกเพื่อผลิตสารอิมัลชันที่มีขนาดของหยดเล็กระดับนาโนเมตร โดยอาศัยการหมุนของโรเตอร์ที่ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์คาวิเทชันทำให้ของเหลวเกิดการผสมกันได้ดี (ดีกว่าการผสมด้วยใบกวน)
ช่วยลดระยะเวลาในการผสมของของเหลว
สารอิมัลชันจะมีความคงสภาพในระยะเวลานาน
ต้นทุนในการสร้างเครื่องไฮโดรโซนิกมีราคาไม่สูงเมื่อเทียบกับเครื่องโฮโมจีไนเซอร์และเครื่องคลื่นเสียงอัลตราโซนิก
ค่าซ่อมบำรุงต่ำ
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของผลิตภัณฑ์
อุตสาหกกรรมผลิตสารอิมัลชั่นต่างๆ
อุตสาหกรรมผลิตไบโอดีเซล
อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง โลชั่น ครีม
อุตสาหกรรมอาหาร
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของผลิตภัณฑ์
อุตสาหกกรรมผลิตสารอิมัลชั่นต่างๆ
อุตสาหกรรมผลิตไบโอดีเซล
อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง โลชั่น ครีม
อุตสาหกรรมอาหาร
กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย
ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายสารอิมัลชั่นต่างๆ
อุตสาหกรรมผลิตไบโอดีเซล
อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง โลชั่น ครีม
อุตสาหกรรมอาหาร
ความร่วมมือที่เสาะหา
อนุญาตใช้สิทธิ และถ่ายทอดเทคโนโลยี
เงื่อนไขการอนุญาตใช้สิทธิ
ติดต่อสอบถามเงื่อนไขการอนุญาตใช้สิทธิ
วิจัยโดย
ผศ.ดร.กฤช สมนึก
คณะวิศวกรรมศาสตร์
นายอภิเชษฐ์ เลขวิริยะกุล
คณะวิศวกรรมศาสตร์
ระดับของการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์
ผลงานวิจัยที่สำเร็จในระดับปฏิบัติการแต่มีผลิตภัณฑ์ต้นแบบแล้ว
ทุนพัฒนาโครงการ
ติดต่อสอบถามเพื่อรับทราบข้อมูล
ติดต่อสอบถาม
แชร์เรื่องราว
×
ติดต่อสอบถามเกี่ยวกับโครงการ
ชื่อผู้ติดต่อ
*
อีเมล์
*
เบอร์โทรศัพท์
*
ข้อความ
*
ย้อนกลับ