Home
PSU INNO Bazaar
Market Place
PSU Research Expo 2021
PSU Service
News
About us
Contact us
<
PSU iNNO Bazaar
ปุ๋ยจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง PSU
แนวคิดที่มา
การผลิตปุ๋ยชีวภาพเพื่อใช้สำหรับการเกษตร โดยการนำเอาจุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่เป็นปุ๋ยได้ เดิมเป็นที่นิยมใช้กับพืชตระกูลถั่ว โดยการใช้แบคทีเรีย Rhizobium spp. ที่ตรึงก๊าซไนโตรเจน หรือการใช้เชื้อรา mycorrhiza ที่ละลายฟอสเฟตจากดิน ตลอดจนการใช้จุลินทรีย์ที่ปล่อยสารกระตุ้นการเจริญของพืช จุลินทรีย์ที่ใช้ผลิตปุ๋ยชีวภาพนั้นสามารถผลิตได้จากหลายกลุ่ม แต่กลุ่มแบคทีเรียสังเคราะห์แสงที่ไม่สะสมซัลเฟอร์ นั้นมีศักยภาพที่เหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการเกษตรเนื่องจากมีความสามารถในการตรึงก๊าซไนโตรเจน รวมไปถึงการกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชโดยการสร้างสารฮอร์โมนพืช อีกทั้งสามารถเจริญได้ทั้งสภาวะมีแสง-ไร้อากาศและสภาวะไร้แสง-มีอากาศ ทำให้สามารถนำแบคทีเรียสังเคราะห์แสงไปใช้กับพืชได้หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนาข้าวซึ่งมีสภาพที่มีน้ำไม่ลึกมากแสงส่องถึง และเป็นพื้นที่ที่น้ำท่วมซึ่งมีผลทำให้เกิดสภาวะมีแสง-ไร้อากาศซึ่งเป็นสภาวะที่แบคทีเรียสังเคราะห์แสงดังกล่าวเจริญได้ดีจึงมีศักยภาพที่จะนำไปใช้ทางการเกษตร
การประยุกต์ใช้ประโยชน์ของสิ่งประดิษฐ์
นำไปในทางเกษตรและสิ่งแวดล้อม เช่น การกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช และการลดก๊าซมีเทนที่เป็นสาเหตุของสภาวะโลกร้อน สำหรับการผลิตปุ๋ยชีวภาพในรูปแบบของแข็ง ส่วนประกอบที่สำคัญคือวัสดุพยุงซึ่งทำหน้าที่ให้จุลินทรีย์ยึดเกาะและปกป้องให้จุลินทรีย์มีชีวิตอยู่รอดได้จากการเก็บรักษาก่อนที่ปุ๋ยชีวภาพจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ ดังนั้นวัสดุพยุงต้องเป็นวัสดุที่หาได้ง่าย มีราคาถูก ให้ความชุ่มชื้นแต่พอควรกับจุลินทรีย์และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับวัสดุที่เป็นของเหลือจากอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศไทยเช่น ขี้เถ้าไม้ยางพาราซึ่งได้จากโรงงานรมควันยางพาราแผ่น กากตะกอนน้ำมันปาล์มซึ่งได้จากโรงงานผลิตน้ำมันปาล์ม แกลบซึ่งได้จากโรงสีข้าว และกากกาแฟซึ่งได้จากกระบวนการผลิตกาแฟ นอกจากเป็นวัสดุที่เหมาะสมเป็นวัสดุพยุงสำหรับปุ๋ยชีวภาพแล้วยังเป็นแหล่งที่อุดมด้วยโปตัสเซียม แมกนีเซียม และฟอสฟอรัสอีกด้วย ดังนั้นเมื่อนำวัสดุของเหลือจากอุตสาหกรรมดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ ทำให้เพิ่มมูลค่าของกระบวนผลิตและลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสียอีกด้วย
จุดเด่นของสิ่งประดิษฐ์
ต้านการแพ้ฮิสเตอมีนในอาหารช่วยลดอาการแพ้อาหารได้
มีกรรมวิธีการผลิตที่ไม่ซับซ้อน และยุ่งยาก
ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของผลิตภัณฑ์
เกษตรกร เช่น ชาวนา ชาวสวน
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของผลิตภัณฑ์
เกษตรกร เช่น ชาวนา ชาวสวน
กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย
ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายปุ๋ย
ความร่วมมือที่เสาะหา
อนุญาตใช้สิทธิ และถ่ายทอดเทคโนโลยี
เงื่อนไขการอนุญาตใช้สิทธิ
ติดต่อสอบถามเงื่อนไขการอนุญาตใช้สิทธิ
วิจัยโดย
ศ.ดร.ดวงพร คันธโชติ
คณะวิทยาศาสตร์
นายจักรพันธุ์ ศักดิ์ภิรมย์
คณะวิทยาศาสตร์
ระดับของการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์
ผลงานวิจัยที่สำเร็จในระดับปฏิบัติการแต่มีผลิตภัณฑ์ต้นแบบแล้ว
ทุนพัฒนาโครงการ
ติดต่อสอบถามเพื่อรับทราบข้อมูล
ติดต่อสอบถาม
แชร์เรื่องราว
×
ติดต่อสอบถามเกี่ยวกับโครงการ
ชื่อผู้ติดต่อ
*
อีเมล์
*
เบอร์โทรศัพท์
*
ข้อความ
*
ย้อนกลับ