แนวคิดที่มา


การประยุกต์ใช้ประโยชน์ของสิ่งประดิษฐ์
  • นำไปใช้ในการฝึกฟื้นฟูการเดินของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยจะมีการแจ้งเตือนไปยังเครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ป่วยหรือผู้ดูแลผู้ป่วยผ่านตัวส่งสัญญาณแบบไร้สายที่เชื่อมต่อกับแอปพลิเคชั่นได้อีกด้วยเมื่อการลงน้ำหนักเท้าของผู้ป่วยมีความแตกต่างเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับนั้นสามารถเกิดประโยชน์ได้กับ 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตครึ่งซีก ทำให้ผู้ป่วยสามารถฝึกการเดินได้เองที่บ้าน สามารถฝึกเวลาใดก็สามารถทำได้ ดังนั้นการฝึกได้ที่บ้านและฝึกอย่างสม่ำเสมอจะสามารถเห็นผลการฟื้นฟูการเดินของผู้ป่วยเอง ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพื่อมาฝึกที่โรงพยาบาล กลุ่มที่ 2 ญาติผู้ป่วย เนื่องจากไม่ต้องเดินทางมากับผู้ป่วยเพื่อมาฝึกการเดินที่โรงพยาบาล ไม่สูญเสียเวลาและค่าใช้จ่าย กลุ่มที่ 3 นักกายภาพบำบัด เนื่องจากการขาดแคลนนักกายภาพบำบัดยังเกิดขึ้น ดังนั้นการที่ผู้ป่วยสามารถไปฝึกการเดินด้วยแผ่นรองเท้าแบบป้อนกลับได้ที่บ้านตามหลักการที่ถูกต้องสามารถช่วยให้นักกายภาพบำบัดสามารถไปดูแลผู้ป่วยที่ต้องการฟื้นฟูด้านอื่นได้ กลุ่มที่ 4 แพทย์สาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู ทำให้แพทย์ผู้รักษาสามารถตรวจสอบประวัติการฝึกเดินได้และสามารถประเมินความก้าวหน้าของการฝึกว่าเป็นอย่างไรจากข้อมูลที่ถูกบันทึกด้วยแอปพลิเคชั่น

จุดเด่นของสิ่งประดิษฐ์
  • สามารถแจ้งเตือนความไม่สมดุลของแรงกดเท้าเพื่อให้ผู้ใช้ปรับการเดินให้เหมาะสมขึ้น
  • สามารถวิเคราะห์แนวโน้มการฟื้นฟูในการเดินโดยเก็บเป็นประวัติการฝึก
  • เป็นระบบไร้สาย ใช้งานได้สะดวก

กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของผลิตภัณฑ์
  • โรงพยาบาล
  • หน่วยกายภาพบำบัด
  • ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของผลิตภัณฑ์
  • โรงพยาบาล
  • หน่วยกายภาพบำบัด
  • ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย
  • บริษัทผลิตอุปกรณ์เพื่อการฟื้นฟู
  • บริษัทผลิตอุปกรณ์การแพทย์

ความร่วมมือที่เสาะหา
  • อนุญาตใช้สิทธิ และถ่ายทอดเทคโนโลยี

เงื่อนไขการอนุญาตใช้สิทธิ
  • ติดต่อสอบถามเงื่อนไขการอนุญาตใช้สิทธิ

ผศ.ดร.สุรพงษ์ ชาติพันธุ์
คณะแพทยศาสตร์
ดร.อติชาต ขวัญเยื้อง
คณะแพทยศาสตร์
นายอุกฤษฏ์ ชามริ
คณะแพทยศาสตร์



แชร์เรื่องราว
ติดต่อสอบถามเกี่ยวกับโครงการ