Home
PSU INNO Bazaar
Market Place
PSU Research Expo 2021
PSU Service
News
About us
Contact us
<
PSU iNNO Bazaar
สารชีวภาพต้านเชื้อซาลโมเนลล่าในสัตว์ปีกและเนื้อสัตว์
แนวคิดที่มา
ในปัจจุบันปัญหาการดื้อยาของปฏิชีวนะของแบคทีเรียต่างๆ เป็นสิ่งหนึ่งที่ทั่วโลกต้องตระหนักถึงและมีมาตราการควบคุมดูแล การประยุกต์ใช้สารชีวภาพที่สกัดหรือแยกได้จากธรรมชาติในการควบคุมเชื้อก่อโรคจึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการใช้แบคเทอริโอเฟจ (bacteriophage) เนื่องจากแบคเทอริโอเฟจมีคุณสมบัติหลายประการที่เหมาะสมในการนำมาใช้ควบคุมแบคทีเรียก่อโรคในอาหาร โดยคุณสมบัติที่โดดเด่นคือ มีความจำเพาะเจาะจงต่อแบคทีเรียเป้าหมาย ทำให้มีประสิทธิภาพในการยับยั้งสูง รวมถึงไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อคนและสัตว์ รวมถึงแบคทีเรียประจำถิ่นที่มีประโยชน์ อีกทั้งแบคเทอริโอเฟจยังได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาจากสหรัฐอเมริกา (FDA) ให้เป็นสารที่อยู่ในสถานะ GRAS (Generally Recognized As Safe) การพัฒนาแบคเทอริโอเฟจในรูปของไมโครเอนแคปซูเลท (microencapsulate) เป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีคุณสมบัติเด่นคือ สามารถปกป้องแบคเทอริโอเฟจในสภาวะที่เป็นอันตรายต่างๆ ได้ เช่น ความเป็นกรด-ด่างรุนแรง ในระบบทางเดินอาหารของคนและสัตว์ ในปี 2008 Ma และคณะได้ทำการพัฒนาแบคเทอริโอเฟจในรูปแบบเอนแคปซูเลทในการยับยั้งเชื้อซาลโมเนลล่า โดยการใช้แอลจิเนตร่วมกับแคลเซียมคลอไรด์ โดยใช้วิธีเอ็กซ์ทรูชชั่น (extrusion) และได้ทำการทดสอบความคงทนของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวที่ pH 2.4 เมื่อเวลาผ่านไป 90 นาที พบว่าแบคเทอริโอเฟจในรูปแบบเอนแคปซูเลทลดจำนวนลง 2.58 log units อย่างไรก็ตามแบคเทอริโอเฟจในรูปแบบเอนแคปซูเลทที่ได้จากการทดลองนี้ยังมีขนาดค่อนข้างใหญ่ สามารถสังเกตเห็นได้ง่าย ในปี 2015 Colom และคณะ ก็ได้ทำการพัฒนาแบคเทอริโอเฟจในรูปเอนแคปซูเลทในการยับยั้งเชื้อซาลโมเนลล่าเช่นกัน โดยได้ใช้ไลโบโซม (liposome) เป็นตัวห่อหุ้มแบคเทอริโอเฟจไว้ และเปลี่ยนรูปแบบเป็นแบบผงแห้งโดยใช้วิธีการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง (freeze-dry) จากการทดสอบความคงทนของแบคเทอริโอเฟจในรูปแบบดังกล่าวที่ pH 2.8 พบว่าแบคเทอริโอเฟจลดจำนวนลง 3.7-5.4 log units เมื่อเวลาผ่านไป 60 นาที
การประยุกต์ใช้ประโยชน์ของสิ่งประดิษฐ์
แบคเทอริโอเฟจในรูปแบบเอนแคปซูเลทที่ลักษณะเป็นผงจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับอาหารได้หลากหลายประเภท โดยเฉพาะในอาหารแห้งหรืออาหารที่ต้องการควบคุมปริมาณความชื้น และความสามารถในการอยู่รอดในสภาวะความเป็นกรด-ด่างรุนแรง จะทำให้แบคเทอริโอเฟจในรูปแบบดังกล่าว มีความสำคัญอย่างมากในการนำไปประยุกต์ใช้กับการควบคุมการปนเปื้อนของเชื้อซาลโมเนลล่าในสัตว์และผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อน
จุดเด่นของสิ่งประดิษฐ์
สารห่อหุ้มแบคเทอริโอเฟจในรูปแบบเอนแคปซูเลทลักษณะเป็นผงแห้ง
สะดวกในการประยุกต์ใช้
สะดวกในการเก็บรักษา
มีความสามารถในความคงทนต่อสภาวะความเป็นกรด-ด่างสูง
ไม่มีสารตกค้างในอาหาร
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของผลิตภัณฑ์
ผู้เลี้ยงสัตว์
ฟาร์มสัตว์
ผู้ผลิตอาหารคนและสัตว์ที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อซาลโมเนลล่า
ผู้ประกอบการที่มีการส่งออกที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อซาลโมเนลล่าเนื่องจากมีการกำหนดไม่ให้มีการพบเจอของเชื้อนี้ในผลิตภัณฑ์ที่ทำการส่งออก
กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของผลิตภัณฑ์
ผู้เลี้ยงสัตว์
ฟาร์มสัตว์
ผู้ผลิตอาหารคนและสัตว์ที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อซาลโมเนลล่า
ผู้ประกอบการที่มีการส่งออกที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อซาลโมเนลล่าเนื่องจากมีการกำหนดไม่ให้มีการพบเจอของเชื้อนี้ในผลิตภัณฑ์ที่ทำการส่งออก
กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย
บริษัทผลิตสารชีวภาพในการควบคุมเชื้อก่อโรคในคนและสัตว์
บริษัทผลิตสารชีวภาพในการควบคุมเชื้อก่อโรคในอาหารสำหรับคนและสัตว์
ผู้ประกอบการที่มีการส่งออกอาหารที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อซาลโมเนลล่า
ความร่วมมือที่เสาะหา
อนุญาตใช้สิทธิ และถ่ายทอดเทคโนโลยี
เงื่อนไขการอนุญาตใช้สิทธิ
ติดต่อสอบถามเงื่อนไขการอนุญาตใช้สิทธิ
วิจัยโดย
ผศ.ดร.กิติญา วงษ์คำจันทร์
คณะอุตสาหกรรมเกษตร วิทยาเขตหาดใหญ่
น.ส.กันติยา เพชรสง
คณะอุตสาหกรรมเกษตร วิทยาเขตหาดใหญ่
ศ.ดร.สุทธวัฒน์ เบญจกุล
คณะอุตสาหกรรมเกษตร วิทยาเขตหาดใหญ่
ระดับของการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์
ผลงานวิจัยที่สำเร็จในระดับปฏิบัติการแต่มีผลิตภัณฑ์ต้นแบบแล้ว
ทุนพัฒนาโครงการ
ติดต่อสอบถามเพื่อรับทราบข้อมูล
ติดต่อสอบถาม
แชร์เรื่องราว
×
ติดต่อสอบถามเกี่ยวกับโครงการ
ชื่อผู้ติดต่อ
*
อีเมล์
*
เบอร์โทรศัพท์
*
ข้อความ
*
ย้อนกลับ